เป็นมะม่วงยอดนิยมทั้งในประเทศ และต่างประเทศ นิยมรับประทานทั้งผลดิบ และผลสุก เพราะผลดิบมะม่วงแก้วมีรสเปรี้ยวไม่มาก เนื้อหนา และมีความกรอบ ส่วนผลสุกมีสีเหลืองทองหรือเหลืองอมแดง เนื้อนุ่มเหนียว ไม่เละง่าย และมีความหอมหวาน นอกจากนั้น ยังนิยมนำมาแปรรูปทั้งในระดับชุมชน และอุตสาหกรรม สำหรับบริโภคในประเทศ และส่งออกต่างประเทศ
มะม่วงแก้วไม่ได้มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย มีลักษณะต้นเตี้ย ทรงพุ่มกว้างกิ่งก้านแข็งแรงทนทานต่อโรคและแมลงสามารถปลูกได้ทุกสภาพพื้นที่ลักษณะ เปลือกจะหนา ผิวเป็นสีเขียวเข้มนวลผลดิบ เนื้อหวานหอม แน่น และกรอบมียางน้อย และจะมันเมื่อแก่จัดผลสุก จะมีรสชาติหวาน
ประโยชน์มะม่วงแก้ว
1. มะม่วงแก้วดิบมีรสเปรี้ยวพอเหมาะ เนื้อมีความกรอบ จึงนิยมรับประทานผลดิบจิ้มกับพริกเกลือ รวมถึงใช้เป็นส่วนประกอบอาหาร อาทิ ข้าวคลุกกะปิ เป็นต้น
2. มะม่วงแก้วสุกมีเนื้อสีเหลืองทองหรือเหลืองอมแดงตามสายพันธุ์ เนื้อมีความนุ่ม และเหนียว ไม่เละง่าย มีความหวานพอเหมาะ จึงนิยมรับประทานเป็นผลไม้ รวมถึงใช้ทำขนมหวาน อาทิ ข้าวเหนียวมะม่วง เป็นต้น
3. มะม่วงแก้วดิบแปรรูปเป็นมะม่วงดอง เนื่องจากมีรสไม่เปรี้ยวมาก เนื้อมีความหนามากกว่ามะม่วงอื่นๆ
4. มะม่วงแก้วสุกแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทั้งในระดับชุมชน และอุตสาหกรรมที่ต้องการปริมาณมากในแต่ละปี อาทิ มะม่วงกวน มะม่วงเข้มข้นบรรจุกระป่อง มะม่วงอบแห้ง มะม่วงในน้ำเชื่อม และแยมมะม่วง เป็นต้น
5. ก้านยอดอ่อน และยอดอ่อนมีรสเปรี้ยว โดยก้านยอดอ่อนมะม่วงแก้ว นำมาลอกเปลือกรับประทานเป็นผักคู่กับกับข้าวอื่นๆ รวมถึงใช้ยอดอ่อนรับประทานคู่ด้วย
6. เปลือกลำต้นด้านในนำมาต้มย้อมผ้า ให้ผ้าสีน้ำตาล
7. เนื้อไม้แปรรูปเป็นไม้แผ่นสำหรับปูพื้น ปูฝ้า ทำวงกบ รวมถึงแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์หรือเครื่องใช้ต่างๆ
จัดทำโดย
นางสาวอรอนงค์ ชีวินวรรักษ์ 62003498013